Real estate & condomanager community
วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ลูกบ้านคอนโด : เจ้าของร่วม ผู้ร่วมแต่ทุกข์ ?
ลูกบ้านคอนโด : เจ้าของร่วม ผู้ร่วมแต่ทุกข์ ?
แล้วก็ถึงคิวของกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในคอนโดจริงๆกลุ่มหนึ่ง ซึ่งจะว่าไปแล้วตามโครงสร้างขององค์กรบริหารคอนโด น่าจะเป็นกลุ่มที่มีอำนาจสูงสุดในคอนโดด้วยซ้ำไป ซึ่งก็คือลูกบ้านหรือที่ภาษากฎหมายเรียกว่า เจ้าของร่วม ครับ
เจ้าของร่วมหรือที่ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Co-owner นั้น เป็นสถานภาพสุดท้ายของกลุ่มคนที่ว่านี้ โดยค่อยๆวิวัฒนาการมาตามลำดับ จากลูกค้ามุ่งหวังของเจ้าของโครงการ มาเป็นลูกค้าผู้มีพระคุณของฝ่ายขายคอนโด จนสุดท้ายกลายมาเป็นเจ้าของร่วมในคอนโด แล้วก็กลายมาเป็นลูกบ้านคอนโดของพ่อบ้าน (ผู้จัดการ) คอนโด
ทำไมถึงเรียกว่า เจ้าของร่วม ? มีอะไรร่วมกับอะไร ?
ถ้าในแง่มุมของกฎหมายคอนโด ความหมายของเจ้าของร่วม ก็คือ ผู้ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลาง ตามอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ที่ตนเองถือครองอยู่ ดังนั้น ท่านเจ้าของกรรมสิทธิ์ทั้งหลาย จึงมีหน้าที่ที่จะต้องจ่ายค่าดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลาง ตามอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ของท่านเช่นกัน
ขอนอกเรื่องมาคุยเรื่องอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ซักเล็กน้อย หลายท่านคงทราบแล้วว่า กฎหมายคอนโดฉบับปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงวิธีคิดอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ จาดการใช้ราคราซื้อขาย ณ วันจดทะเบียน มาเป็นคิดตามพื้นที่ห้องชุด โดยส่วนตัวแล้วผมเห็นว่า การคิดตามราคาซื้อขายน่าจะแฟร์กว่านะครับ (ถ้าราคาที่แจ้งเป็นราคาจริงๆ) คือซื้อแพงกว่าก็มีอัตราส่วนกรรมสิทธิ์มากกว่า ซื้อถูกกว่าก็มีน้อยกว่า เวลาโหวตลงมติในที่ประชุมใหญ่ ก็มีเสียงมากน้อยต่างกันตามอัตราส่วนกรรมสิทธิ์
เหมือนกับการที่เราจดทะเบียนตั้งบริษัทแล้วเอาเงินมาลงขันร่วมกัน ใครลงทุนหรือถือหุ้นมากกว่าก็ย่อมจะมีสิทธิมีเสียงมากกว่า เวลามีกำไรก็ได้รับเงินปันผลมากกว่า เวลาขาดทุนก็เจ็บตัวมากกว่า
แต่เงินค่าส่วนกลางไม่เหมือนเงินลงทุนบริษัทตรงที่ว่า หุ้นบริษัทลงทุนไปแล้วมีความเสี่ยงแล้วก็มีโอกาสได้รับเงินปันผล ค่าใช้จ่ายส่วนกลางชื่อก็บอกแล้วนะครับว่า เป็นค่าใช้จ่าย ลงทุนหรือจ่ายไปแล้วก็หมดไป พอขึ้นงวดใหม่ก็ก็จ่ายอีก นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้เจ้าของร่วมหลายๆท่านถึงไม่อยากจะจ่ายหรือเปล่า เพราะจ่ายไปแล้วหลายท่านก็คาดหวังว่าจะได้สิ่งโน้นสิ่งนี้ แล้วก็ได้บ้างไม่ได้บ้าง แล้วก็ตามเคยครับ พอไม่ได้ในสิ่งที่ตัวเองคาดหวังก็มาลงที่ผู้จัดการคอนโด ( อีกแล้ว )
ผมถึงให้คำจำกัดความตามความหมายของผมเองว่า เจ้าของร่วมที่กฎหมายคอนโดเขาเรียกขานกันนั้น น่าจะเป็นเจ้าของผู้ร่วมทุกข์มากกว่า เพราะเวลาท่านทั้งหลายมีความสุข ท่านก็จะสุขในโลก ( ห้องชุด ) ของท่านตามลำพัง แต่เวลาท่านพบทุกข์ (ในคอนโด) ทีไร คนแรกที่ท่านจะนึกถึงก็คงหนีไม่พ้นผู้จัดการคอนโด (ผู้น่าสงสาร) อย่างแน่นอน แบบนี้ไม่ให้เรียกว่า เจ้าของผู้ร่วมแต่ทุกข์ สุขไม่ยอมร่วม ได้อย่างไร
กรุณาอย่าซีเรียสนะครับ เอาแบบขำๆ นะครับ เพราะจริงๆแล้ว หน้าที่ของผู้จัดการคอนโดก็คือพ่อบ้าน เมื่อลูกบ้านประสบพบปัญหาแล้วไม่ไปหาพ่อบ้านแล้วจะให้ไปหาผู้ใด ?
ทีนี้พอมีลูกบ้านมาร้องเรียนบ่อยๆเข้า เป็นธรรมดาว่าความเครียดก็เริ่มเข้าครอบงำผู้จัดการบ้างเป็นบางครั้งบางคราว ปัญหาบางอย่างที่สามารถแก้ไขได้ก็เป็นเรื่องน่ายินดี ปัญหาบางเรื่องก็สุดวิสัยที่ผู้จัดการจะแก้ให้ได้ เพราะต้นเหตุของปัญหาเป็นปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้จัดการ บางปัญหาก็เป็นเรื่องของเบื้องบน นโยบายของคณะกรรมการ หรืออื่นๆ
อย่างไรก็ตามผมอยากจะเล่าถึงลูกบ้านที่เคยเข้ามาร้องเรียนปัญหาต่างๆกับผม ซึ่งผู้จัดการคอนโดหลายท่านก็คงจะผ่านประสบการณ์เหล่านี้มากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป โดยขอสรุปพฤติกรรมลูกบ้านและสภาพของปัญหาจากมุมมองของผมเองนะครับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
1 ความคิดเห็น:
มาดูที่นี่สิถ้าจะมองหาคอนโดเข้าเวปนี้สิครับหาง่ายมากๆเลย
เว็บไซต์นี่ที่รวบรวมข้อมูลที่ท่านต้องการเช่าคอนโด ต้องการที่จะลงประกาศ ขายคอนโด เว็บนี้ ทุกที่ มีรูป และ แผนที่ ไว้บริการเพื่อความ สะดวกและรวดเร็ว เป็นเว็บที่รวบรวมข้อมูลคอนโดและเช่าคอนโด และขายคอนโด เข้าไปดูที่ http://www.thairemap.com สิครับ
แสดงความคิดเห็น