Real estate & condomanager community

วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

เมื่อผู้จัดการคอนโดต้องเป็นผู้จัดการนิติฯ ด้วย ทำอย่างไร?



Date: Wed, 6 May 2009 08:45:00 +0700
Subject: Re: อยากคุยเรื่องคอนโดค่ะ
From: condofarang@gmail.com
To: condo.mgr@hotmail.com


มีเรื่องอยากรบกวนถามอีกคือทางบริษัท หัวหน้าดิฉันเป็นฝ่ายบุคคลทีนี้อาคารที่จะดูมีจำนวนห้อง213 ห้อง คือเค้าจะให้เป็นผู้จัดการนิติบุคคล+ผู้จัดการอาคารด้วยต้องทำอย่างไรบ้างคะ

From: * ** (condo.mgr@hotmail.com)
Sent: Wednesday, May 06, 2009 11:48:05 AM
To: condofarang@gmail.com


ต้องเรียนตามตรงว่า
ถ้ายังไม่มีประสบการณ์ อย่าเสี่ยงสวมหมวก 2 ใบเลยจะดีกว่า
ลองกลับไปอ่านบทความที่ผม Post ไว้นะครับว่า
การเป็นผู้จัดการนิติบุคคลตามกฎหมายใหม่นั้น
มีความเสี่ยงต่อการละเมิดกฎหมายอาคารชุดขนาดไหน
ถ้าได้ทีมงานที่แข็งและชำนาญงานบริหารนิติบุคคลอาคารชุด
จะลองดูก็ได้
แต่แนะนำว่า เจ้าของโครงการควรจะจ้างบริษัทบริหารคอนโด
ให้ทำหน้าที่ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารจัดการ
ซึ่งเขาจะรวมถึงการให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมายอาคารชุดด้วย

การทำหน้าที่ผู้จัดการนิติบุคลเป็นไปได้ใน 2 รูปแบบคือ
ผู้จัดการนิติบุคคลตามบทเฉพาะกาล
หมาบถึงผู้จัดการนิติบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าของโครงการ
( ซึ่งมีฐานะเป้นเจ้าของร่วมที่มีเสียงข้างมาก
ตามสัดส่วนการถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุด
ในช่วงเริ่มแรกของการก่อตั้งนิติบุคคลอาคารชุด )
เพื่อให้มาทำหน้าที่ส่งหนังสือเชิญและจัดประชุมใหญ่สามัญครั้งแรก
ภายใน 6 เดือนนับจากวันจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด
เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการฯ , รับรองกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ
รวมถึงการรับรองผู้จัดการนิติบุคคลเฉพาะกาลคนดังกล่าวด้วย

ถ้าที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมครั้งแรกมีมติรับรองผจก.นิติบุคคลก็เป็นอันจบ
ซึ่งส่วนใหญ่จะรับรองนะ เพราะเสียงส่วนใหญ่เป็นของเจ้าของโครงการ
ผู้จัดการนิติฯ เฉพาะกาลก็จะเป็นผจก. นิติฯ โดยสมบูรณ์
มีวาระการดำรงตำแหน่งตามที่ข้อบังคับกำหนด

ซึ่งผู้จัดการนิติฯ เฉพาะกาลนี้ เจ้าของโครงการ ในฐานะเจ้าของร่วมเสียงข้างมาก
อาจแต่งตั้งให้บริษัทที่ปรึกษาเป็นก็ได้
ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ว่า ผจก.นิติบุคคลจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ( บริษัทจำกัด ) ก็ได้
โดยบริษัทจำกัดต้องแต่งตั้งบุคคลธรรมดา 1 คน ให้ทำหน้าที่ผจก. นิติฯ

เมื่อดำรงตำแหน่งครบวาระแล้ว ก็จะมีการจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี
เพื่อแต่งตั้งผจก.นิติฯ ใหม่ ซึ่งอาจจะเป็นคนเดิมหรือไม่ก็ได้
ขึ้นอยู่กับคะแนนเสียงในช่วงเวลานั้นๆ

ผจก.นิติฯ ที่ได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม
ก้จะเป็นผู้จัดการนิติฯที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง
มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายทุกประการ
ขณะเดียวกันก็มีความรับผิดตามกฎหมายเต็มที่เช่นเดียวกัน

ผู้จัดการนิติฯอีกแบบก็คือ กรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุมคณะกรรมการด้วยกัน
ให้ทำหน้าที่ผจก.นิติฯ กรณีที่ไม่มีผู้จัดการ
ซึ่งส่วนใหญ่ก็เกิดจากการที่องค์ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมไม่ครบตามกฎหมายกำหนด
( 1 ใน 4 ของเจ้าของร่วมทั้งหมด )
จึงทำให้ไม่สามารถแต่งตั้งผจก. นิติฯ ได้จากที่ประชุมใหญ่
แต่กิจกรรมของนิติบุคลฯ ต้องดำเนินต่อไป
เช่นการออกใบปลอดหนี้ให้เจ้าของร่วมที่ต้องการจำหน่ายจ่ายโอนกรรมสิทธิ เป้นต้น
ก็เลยต้องแต่งตั้งกรรมการ 1 ท่านให้ทำหน้าที่ไปพลางๆ จนกว่าจะแต่งตั้งตัวจริงได้

ที่ผมร่ายยาวมาจนน่าเวียนหัวก็เพราะอยากให้คุณเห็นรายละเอียดเพิ่มขึ้น
ก่อนตัดสินใจรับทำหน้าที่ผู้จัดการนิติฯ
จะเห็นว่าไม่ใช่เรื่องสนุก
แต่ถ้ามีที่ปรึกษา( ที่ดี ) Back up อยู่ข้างหลังละก็ ลองพิจารณาดู

ลองถามหัวหน้าคุณดูว่า ทำไมพี่ไม่รับเป็นเองล่ะ?

SPECIAL REQUESTED ! ! !

ก่อนอ่านต่อหน้าอื่น อย่าลืมคลิกลิ้งค์โฆษณาหน้านี้ เพื่อสนับสนุนสปอนด์เซอร์บ้างนะครับ

ขอบคุณครับ

ไม่มีความคิดเห็น: